วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วัตถุมงคลหลวงพ่ออ้วน วัดหนองกระโดน นครสวรรค์







สนใจวัตถุมงคลหลวงพ่ออ้วน ติดต่อเช่าบูชาได้ที่ 085- 3174002   หรือ 081-8866959

ห้องบูชา วัตถุมงคลหลวงพ่ออ้วน วัดหนองกระโดน 



ตัวอย่างบ้างส่วน ที่มีบูชา 



เหรียญอัลป้าก้า หลวงพ่ออ้วน 


เรื่องเล่าเรื่อง ขุนโดด เขี้ยวเงิน ของหลวงพ่ออ้วน 

ขุนโดด เขี้ยวเงิน จ่าฝูงหมูป่าตัวใหญ่ เขี้ยวใหญ่ อาศัยอยู่ใน วัดหนองกระโดน จ.นครสวรรค์ 
ได้ออกไปไกลจากวัด ชาวบ้านซึ่งไม่รู้ว่าเป็นหมูของหลวงพ่อได้ล้อมจับ 
มีทั้งปืน,ดาบ.มีด,ไม้ กระหน่ำตีฟันยิง จนเหนื่อย ปรากฎว่า ปืนยิงไม่ออก มีดดาบ ฟันไม่เข้า ไม้ตีไม่ทรุด 
จนเจ้าขุนโดดกลับมาวัดได้ หลายคนสงสัยตามหา จนรู้ว่าเป็นหมู่ป่าที่หลวงพ่ออ้วนเลี้ยงไว้ 
ในวันรุ่งขึ้น ใครที่ตีเจ้าขุนโดดตรงไหน ฟันตรงไหน เจ็บตรงนั้น ต้องมาให้หลวงพ่อแก้ไขให้ 
และนำอาหารมาเลี้ยงหมูป่าที่วัด 









สีผึ้งตลับทองเหลือง ขนาดใหญ่กว่าเหรียญ10



ท้าวเวสุวรรณอัลป้าก้าลงยา 




ลูกสะกด



เหรียญระฆัง ลงยาสีประจำวันเกิด 























สิงห์สามกษัตรย์ หลวงพ่ออ้วน  ปี2553 







สิงห์รมดำหลวงพ่ออ้วน 

รูปหล่อหลวงพ่ออ้วน เนื้อผงไม้สักหลังคาโบสภ์ ผสมเรซิ่น ขนาด 3 นิ้ว 



พระชุดเหรียญเม็ดแตงเนื้อเงิน และลงยา พร้อมมีดปากกาไม้พยุง เหรียญระฆัง หน้าเงิน และลงยาหน้าเงิน
สนใจวัตถุมงคลหลวงพ่ออ้วน ติดต่อเช่าบูชาได้ที่ 085- 3174002   หรือ 081-8866959


วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประวัติหลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน เมืองนครสวรรค์







หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์

หลวงพ่อพวง เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสิบ ปีวอก ตรงกับพ.ศ.๒๔๑๕ หลวงพ่อพวงเกิดที่บ้านฟากคลอง ต.หนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์  เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนที่วัดหนองกระโดน ซึ่งการเรียนนั้นมุ่งไปที่การอ่านหนังสือไทย และหนังสือขอม การท่องบทสวดมนต์ และต่อหนังสือกับพระในตอนเย็น
เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยรุ่น จึงลาออกจากวัดไปช่วย  บิดามารดาประกอบอาชีพ จนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงเข้าอุปสมบทที่วัดมหาโพธิใต้ ต.มหาโพธิ อ.บรรพตพิสัยเดิม(ปัจจุบันขึ้นอ.เก้าเลี้ยว) โดยมีพระครูพิสิษฐ์สมถคุณเป็นพระอุปัชณาย์ อยู่ในสมณเพศได้ 1 พรรษา ที่วัดหนองกระโดน แล้วก็ลาสิกขา ไปช่วยบิดามารดาทำนาทำไร่ครองเพศฆราวาสอยู่ได้ไม่นานนักก็เบื่อหน่ายใน ฆราวาสวิสัย จึงกลับเข้าอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออายุ ๒๓ ปีบริบูรณ์ ตรงกับพ.ศ.๒๔๓๘ที่วัดมหาโพธิใต้ โดยมีพระครูพิสิษฐ์สมถคุณ(หลวงพ่อเฮง)วัดเขาดินใต้เป็นพระอุปัชณาย์ แล้วกลับไปอยู่ที่วัดหนองกระโดน
ในการอุปสมบทครั้งนี้ หลวงพ่อพวงได้ตั้งปณิธาน ไว้ว่าจะดำรงสมณเพศตลอดไป จึงตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย  จากพระปลัดเคลือบเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดน การปฏิบัติตามวิสัยของหลวงพ่อพวงนั้น จะออกบิณฑบาตรเป็นกิจวัตร มีการทำวัตรเช้า-เย็นทุกวันไม่มีขาด เวลากลางคืนท่านจะนั่งเจริญกรรมฐานจนดึกทุกคืน จริยาวัตรของท่าน เป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก ยึดมั่นในสัจธรรมที่ว่า"ยถาวาที ตถาการี"หมายถึง"คนตรงพูดอย่างไรทำอย่าวนั้น" จนมีคำพูดว่าหลวงพ่อพวงเป็นพระจริงๆ       
ในปีพ.ศ.๒๔๕๐ หลวงพ่อพวงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดนเมื่อ มีพรรษา ๑๒ พรรษา เนื่องจากพระปลัดเคลือบเจ้าอาวาสท่านเดิมนั้นประชาชนได้อาราธนาไปเป็นเจ้า อาวาสวัดหัวเมือง(วัดนครสวรรค์) ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๖๘เมื่อต.ลาดยาว ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอ.ลาดยาว ขณะนั้นตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดยาวได้ว่างลง ขุนนิพัธ์ประสาสน์ นายอำเภอลาดยาวขุนลาดบริบาล พ่อค้า ประชาชนจึงได้จัดขบวนไปรับหลวงพ่อพวงที่วัดหนองกระโดน ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดยาวและเจ้าคณะแขวงลาดยาว ในปีพ.ศ.๒๔๗๓ หลวงพ่อพวงได้ รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอตรี ชื่อ"พระครูนิวิฐธรรมสาร" และเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตแขวงลาดยาวเมื่อมีอายุ๕๘ ปี พรรษาที่ ๓๕       
หลวงพ่อพวงมีความรู้ด้านการช่างฝีมือเป็นอย่างดี โดยได้ช่วยพระปลัดเคลือบสร้างศาลาวัดหัวเมืองจนแล้วเสร็จ ต่อมาปีพ.ศ.๒๔๕๙ได้เป็นผู้นำการสร้างศาลาวัดหนองยาว อ.ลาดยาว ปีพ.ศ.๒๔๖๗ ได้บูรณะวัดหนองกระโดนโดยสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ปีพ.ศ.๒๔๖๘ได้เป็นกำลังสำคัญสร้างศาลาการเปรียญให้แก่วัดเก้าเลี้ยว ปีพ.ศ.๒๔๖๙ ได้สร้างศาลาการเปรียญให้แก่วัดทัพชุมพลและไปช่วยสร้างวัดหนองโรงต.หนองกรด อ.ปากน้ำโพ
นอกจากนี้ยังได้ไปช่วยหลวงพ่อขันสร้างวัดลาดยาว อ.ลาดยาว ปีพ.ศ.๒๔๗๐ ได้ก่อสร้างมณฑปที่วัดหนองกระโดนเพื่อประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองและก่อ สร้าวศาลาวัดเนินขี้เหล็กและวัดบ้านไร่ ในปีพ.ศ.๒๔๗๑หลวงพ่อพวงได้เริ่มก่อสร้างวัดเขาสมุกโดยสร้างศาลาการเปรียญ โรงน้ำร้อน กุฏิ ๔ หลัง หอฉัน ศาลา ๙ ห้อง สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองไว้บนยอดเขาสมุก และสร้างมณฑปครอบไว้ การก่อสร้างใช้เวลา ๕ ปี แล้วเสร็จเมื่อพ.ศ.๒๔๗๕ มีเนื้อที่ดิน ๓๐ ไร่เศษ       

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2476 หลวงพ่อพวง ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ เวลา 17.15 น. ณ หอสวดมนต์ วัดหนองกระโดน สิริอายุ 61 ปี พรรษา 38

หลังจากหลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน จ.นครสวรรค์ได้มรณะภาพแล้ว ได้มีการปั้นรูปเหมือนหลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดนไว้ที่วัดหนองกระโดน วัดลาดยาว วัดเขาสมุก วัดหนองยาว และวัดศรีสุธรรมาราม
 
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

                วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างเอาไว้คือ เหรียญรุ่นแรก ปี 2470  สร้างขึ้นเพื่อมอบให้แก่ผู้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์สร้างศาลาการเหรียญหลังใหม่  เป็นเหรียญเนื้อทองแดง หูในตัวห่วงเชื่อม  เหรียญรุ่นนี้นับเป็นเหรียญหลักอีกเหรียญหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์  ได้รับความนิยมไม่แพ้เหรียญของหลวงพ่อเดิม  วัดหนองโพ  และยังมีรูปถ่ายนั่งเต็มองค์อีก

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประวัติหลวงพ่ออ้วน วัดหนองกระโดน


พระครูนิมิตวิสุทธิคุณ(หลวงพ่ออ้วน) วัดหนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์  




หลวงพ่ออ้วน จรณฺวุโธ

เดิมชื่อ วิสุทธิ บุญน้อย เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ 2487 ณ บ้านหนองกระโดน ต.หนองกระโดน อ. เมือง จ.นครสวรรค์ ***

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ 2508 ท่านมีอายุครบ 21 ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทที่วัดหนองกระโดน โดยมี พระธรรมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อท่านได้บวชแล้ว ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดวังสวัสดี เป็นเวลานานถึง 5 พรรษา ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย พร้อมทั้งปฏิบัติธรรมด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสสา ท่านได้ศึกษาเรื่อง สมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนา จากอาจารย์อูทั่น ซึ่งเป็นชาวพม่า

นอกจากนี้ยังได้ ศึกษาพระเวทวิชาคาถาอาคมจาก หลวงพ่อรุ่ง วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ที่สำคัญท่านได้ศึกษาพระเวททางการรักษาโรค ด้วยสมุนไพร จากตำราของหลวงพ่อพวง อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองกระโดน จากการศึกษาหาความรู้ในทางธรรมและทางปฏิบัติเหล่านี้ ท่านได้นำมาใช้ปัดเป่าความทุกข์ยากให้ผู้คนมากมายให้หายได้ และคลายความทุกข์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ท่านใช้ความรู้ในสมัยโบราณมารักษากระดูก เช่นแขนหัก ขาหัก กระดูกร่างกายส่วนต่างๆ ให้หายได้ และท่านยังรักษาในเรื่องของผู้ที่ถูกคุณไสย อีกด้วย....

หลวงพ่ออ้วน ท่านได้ทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาและปรับปรุงบูรณะวัดมาโดยตลอด จนกระทั่งในปี 2514 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าอาวาส วัดหนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์... *** ปี พ.ศ 2516 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าคณะตำบล *** ปี พ.ศ 2521 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์ *** ปี พ.ศ 2530 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี เป็นพระครูนิมิตวิสุทธิคุณ.. ***

บริเวณวัดหนองกระโดน
   

นมัสการหลวงพ่อพวง  หลังจากหลวงพ่อพวงมรณะภาพแล้วได้สร้างรูปเหมือนหลวงพ่อ ไว้ที่วัดแห่งนี้  



หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- เสาร์ที่ 3 มกราคม 2552 09:57:50 น.
หลวงพ่ออ้วน วัดหนองกระโดน
ละสังขาร...ฟื้นขึ้นมาใหม่ด้วยบุญฤทธิ์
วัดหนองกระโดน ต.หนองกระโดน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2426 มีอดีตเจ้าอาวาสผู้เรืองวิทยาคมคือ หลวงพ่อพวง (พระครูนิวิฐธรรมสาร) ซึ่งวัตถุมงคลยอดนิยมของท่านคือ เหรียญสี่เหลี่ยม สร้างปี พ.ศ.2470 นำออกแจกจ่ายให้แก่คนท้องถิ่นก่อนพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยคือ เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ รุ่นแรกรูปไข่ ปี พ.ศ.2479



เหรียญสี่เหลี่ยมหลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน สร้างจำนวนน้อยและส่วนใหญ่อยู่ในการครอบครองของคนท้องถิ่น เนื่องจากได้รับประสบการณ์ทางด้านอิทธิปาฏิหาริย์แคล้วคลาดและประการสำคัญคือ “คงกระพัน” จึงทำให้คนท้องถิ่นหวงแหนเก็บบูชาให้แก่ลูกหลานเป็นส่วนใหญ่ วัตถุมงคลของแท้ที่ปลุกเสกโดยหลวงพ่อพวงจึงหายากในยุคนี้
ปัจจุบันวัดหนองกระโดน มีพระครูนิมิตวิสุทธิคุณหรือ “หลวงพ่ออ้วน จรณวฒโฑ” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสลำดับที่ 17 ซึ่งท่านได้สืบสานตำรับวิชาอาคมของหลวงพ่อพวง และศึกษาฝึกปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานจากพระอาจารย์อูทั่นชาวพม่า นอกจากนี้ยังได้ ศึกษาพระเวทวิชาคาถาอาคมจากหลวงพ่อรุ่ง วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.นครสวรรค์ จนเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวปากน้ำโพและเป็นพระเกจิอาจารย์ที่สงเคราะห์ชาวบ้านญาติโยม จึงได้รับความเคารพนับถือในระดับแถวหน้าของนครสวรรค์เช่นกัน



โดยเฉพาะท่านสำเร็จวิชากสินสี่ ยิงกระสุนคต ปราบคุณไสยและมีวิชามหาทะมึนจากตำราหลวงพ่อพวง ด้วยการหุงน้ำมันมนต์รักษากระดูกซึ่งทุกวันนี้มีชาวบ้านเข้ามารับการรักษาโรคกระดูกทุกวัน ดังนั้นชาวบ้านมักจะสัมผัสได้ถึงความมีเมตตาบารมีของท่าน
กระทั่งมีรูปธรรมที่สามารถอ้างถึงได้เป็นอย่างดีคือ สัตว์ใหญ่เฉกเช่นโคยังรับรู้ถึงความเมตตาของหลวงพ่ออ้วน กล่าวคือ มีโคหลายตัวถูกบรรทุกขึ้นรถผ่านโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ กลางเมืองปากน้ำโพ เพื่อจะนำไปส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์ แต่มีโคตัวเมียร่างสูงใหญ่พลัดหล่นจากรถตื่นตระหนกหนีตายวิ่งเข้าประตูโรงพยาบาลประจำจังหวัดและยังวิ่งเข้าไปในห้องแพทย์สร้างความตื่นตระหนกให้แก่เจ้าหน้าที่และประชาชนเป็นอย่างมาก



ครั้นมีคณะแพทย์และพยาบาลตั้งสติได้ก็ใช้หลักความเมตตาร่วมลงขันไถ่ชีวิตโคตัวดังกล่าวได้จำนวนเงินกว่า 3 หมื่นบาทเกินกว่าราคาซื้อขายหน้าโรงฆ่าและคณะแพทย์ก็มีความเห็นตรงกันว่า ควรส่งโคที่ไถ่ชีวิตมานั้นนำไปถวายหลวงพ่ออ้วนอย่างเป็นเอกฉันท์
เมื่อทุกคนมีความเห็นเช่นนั้น โคตัวดังกล่าวก็เริ่มมีอาการสงบลงตามลำดับ จนกระทั่งคณะแพทย์ให้เจ้าของโคและผู้ควบคุมนำโคขึ้นรถเดินทางไปถวายหลวงพ่ออ้วนที่วัดหนองกระโดน แถมยังมีปัจจัยเหลืออีกหนึ่งหมื่นกว่าบาทถวายหลวงพ่อเพื่อเป็นทุนดูแลโคคู่บารมีอีกด้วยและปัจจุบันโคตัวนี้มีอาการสงบหลวงพ่อเลี้ยงไว้ใต้ถุนกุฏิของท่านด้วยความเมตตาตลอดมา
เหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไปไม่ถึงขวบปี หลวงพ่ออ้วนก็มีอาการอาพาธและคณะศิษย์ได้กราบนมัสการขอให้หลวงพ่อเดินทางไปรักษาตัวยังโรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพฯ เพราะอาการอาพาธค่อนข้างทรุดหนัก กระทั่งระหว่างอาพาธที่โรงพยาบาลอยู่นั้น หลวงพ่ออ้วนไม่รู้สติไปถึง 14 วัน จนเป็นที่ห่วงใยของบรรดาคณะศิษย์เป็นอย่างยิ่ง




พอย่างเข้าสู่วันที่ 14 หลวงพ่ออ้วนก็รู้สึกตัวฟื้นคืนสติภายใต้ความปีติยินดีของศิษย์ผู้ดูแลใกล้ชิดและเป็นการฟื้นคืนสติที่เสมือนเป็นการกลับมา “เกิดใหม่” เนื่องจากหลวงพ่ออ้วนระลึกได้ว่า การไม่รู้สึกตัวตลอด 14 วันของท่านนั้นเสมือนเป็นการละสังขารไปแล้ว เพราะท่านตกอยู่ในนิมิตว่า เข้าไปท่องในภพอื่น ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาละสังขารหรือเป็นเพียงการส่งดวงจิตออกจากร่างไปยังภพอื่น เพื่อนำเอานิมิตที่ท่านสัมผัสมาได้นั้นเป็นเนื้อหาแห่งธรรมะนำมาสอนญาติโยมให้กระทำแต่ความดี
หลวงพ่ออ้วน กล่าวถึงนิมิตข้างต้นโดยถูกคะยั้นคะยอให้เปิดเผยเท่าที่ท่านจะกระทำได้ว่า ความรู้สึกในนิมิตที่ท่านประสบในภพอื่นเป็นพื้นที่ว่างเปล่าโปร่งโล่ง แต่ท่านมีความรู้สึกว่า หิวทั้งน้ำและอาหาร เมื่อเห็นสำรับอาหารและน้ำก็จะหยิบขึ้นมาฉัน แต่ก็มีเสียงแผดก้องเป็นคำสั่ง “ห้ามแตะต้อง” แถมไล่ให้กลับอย่างเดียว
“ในนิมิตนั้นอาตมาหิวน้ำมากๆ ก็พยายามที่จะฉันให้ได้ แต่ก็ถูกห้ามและไล่ให้กลับเป็นอย่างนี้ตลอดเวลา กระทั่งตัดใจ เอ้า...ไม่ฉันก็ไม่ฉันก็หันหลังกลับก็มองเห็นพระเกจินครสวรรค์คือ หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพรและสหธรรมมิกที่สนิทสนมกัน เช่น พระครูนิยุติธรรมคุณหรือหลวงพ่อทองคำ อนงคโน อดีตเจ้าอาวาสวัดวิมลราษฎร์ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ รวมถึงญาติโยมที่เข้ามาทำบุญในวัดหนองกระโดนบางคน แต่ก็ไม่สามารถทักทายกันได้ เพียงแต่อาตมาเป็นฝ่ายมองเห็นท่านเหล่านั้น”
เมื่อเล่ามาถึงช่วงนี้หลวงพ่ออ้วนก็บอกต่อไปว่า เมื่อหิวน้ำก็ถูกห้ามไม่ให้ฉัน เจอะเจอคนรู้จักก็ทักทายไม่ได้ จึงตัดสินใจว่า กลับก็กลับ...กระทั่งท่านรู้สึกตัวว่า กำลังฟื้นคืนสติบนเตียงโรงพยาบาลราชวิถี โดยมีแพทย์และพยาบาลกำลังระดมเครื่องมือทางการแพทย์ช่วยชีวิตอยู่
หลวงพ่ออ้วน กล่าวสรุปถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาแต่เพียงว่า “โยม...เวลาเราคิดจะให้อะไรแก่คนและสัตว์ ขอให้เราตั้งจิตให้ด้วยความเมตตา เมื่อให้เขาไปแล้วก็ขอให้คิดว่า ให้นำสิ่งของหรือเงินทองที่เรามอบให้ไปนั้นนำพาแต่ความสุขเจริญ อย่าสักแต่ให้ไปแบบส่งเดช”
ต่อมาก็มีเรื่องน่าอัศจรรย์เกิดขึ้นว่า พระเกจิอาจารย์และสหธรรมมิกพร้อมญาติโยมที่หลวงพ่ออ้วนบอกว่า พบเห็นในนิมิตนั้นค่อยๆ ละสังขารไปทีละรูปและทีละคน นับตั้งแต่หลวงพ่อทองคำ ถัดมาก็หลวงพ่อจ้อยและก็มาถึงคิวโยมบางคนที่ชอบทำบุญตามวัดวาอารามอยู่เป็นเนื่องนิจ
การละสังขารและกลับมาเกิดใหม่ที่หลวงพ่ออ้วนบอกว่า เป็นเพียงนิมิตนั้น แต่กาลกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะท่านมีมหาเมตตามากกว่าในอดีต แม้ถูกนิมนต์ไปร่วมปรกอธิษฐานจิตในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล หลวงพ่ออ้วนมักจะไม่รับปัจจัยที่วัดเจ้าภาพจัดถวายตามปกติทั่วไป



ด้วยนิมิตแห่งความอัศจรรย์ข้างต้นคือ บุญฤทธิ์หรือความสำเร็จด้วยบุญของหลวงพ่ออ้วนจึงมีดำริจัดสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ทดแทนหลังเก่าที่เริ่มคับแคบและชำรุดทรุดโทรมลงไปมากซึ่งยังขาดปัจจัยอีกประมาณ 10 ล้านบาท แต่ในทางตรงข้ามท่านเองก็ไม่รับปัจจัยจากการถูกนิมนต์ไปงานพิธีพุทธาภิเษกและยังแจกวัตถุมงคลให้แก่ญาติโยมที่เข้าไปกราบนมัสการท่านอยู่เนืองๆ จึงอาจจะเป็นเหตุหนึ่งที่ยังขาดปัจจัยสนับสนุนให้ศาลาการเปรียญหลังใหม่จะสำเร็จลุล่วงในเร็ววัน
แม้กระทั่งผู้เขียนยังกราบนมัสการเรียนถามท่านอย่างตรงๆ ว่า หากหลวงพ่อยังแจกวัตถุมงคลที่ทางวัดมีต้นทุนอยู่ตลอดเวลา เมื่อไหร่ศาลาการเปรียญหลังใหม่จะแล้วเสร็จเสียที ท่านก็ตอบกลับง่ายๆ แต่เพียงว่า “ก็บอกแล้วไง...ทุกอย่างขอให้ด้วยใจและทุกอย่างจะกลายเป็นบุญกุศลไปเอง ไม่ต้องคาดหวังอะไร ญาติโยมเขาศรัทธาเขาก็เข้ามาร่วมบริจาคทำนุบำรุงพระศาสนาให้มั่นคงสืบไป
ทั้งนี้ จึงขอถือโอกาสบอกบุญต้อนรับปีใหม่ 2552 วัดหนองกระโดน ยังมีวัตถุมงคลหลวงพ่ออ้วนรุ่นโชคดี เพื่อนำรายได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่มูลค่า 20 ล้านบาท ซึ่งวัตถุมงคลชุดนี้มีมวลสารเก่าของหลวงพ่อพวง และมวลสารศักดิ์สิทธิ์หลายชนิด
จัดสร้างเป็นพระเนื้อผงหลวงพ่ออ้วน-พระพิฆเนศ, สมเด็จหลังเงาเนื้อผงและเนื้อเหล็กน้ำพี้, มีดหมอเหล็กน้ำพี้, ตะกรุดโทน-ตะกรุดสามกษัตริย์, สิงห์เนื้อสามกษัตริย์ และรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่ออ้วน





หมูขุนยาวของหลวงพ่ออ้วน 

โรงเลี้ยงหมู

ศาลาการเปรียญที่ยังสร้างไม่เสร็จ